วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560


สมุนไพรไทยและสมุนไพรน่ารู้ 1,500+ ชนิด!! พร้อมสรรพคุณและประโยชน์


โครงงาน วิชาคอมพิวเตอร์
 เรื่อง สมุนไพร


เสนอ 
อาจายร์ ฐิตินัฎฐ์  ด้วงคง

จัดทำโดย

นายออมสิน  ปานสีนุ่น
นายเอกราช  จูดจันทร์
นายสุทธิแพทย์  บัตรทอง

ชั้น ม.6/2

ภาคเรียนที่2

โรงเรียนบางขันวิทยา
สพม12.

          บทคัดย่อ
ในปัจจุบันคนไทยเริ่มหันมาดูแลสุขภาพกันมาขึ้น ซึ้งการดูแลสุขภาพนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้สมุนไพรหรือผักผลไม้หรือดอกไม้ที่หาได้ไม่ยากในวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆ นำมาปรุงแต่งให้เป็นเครื่องดื่ม โดยยังคงคุณค่าตัวยาในการส่งเสริมสุขภาพหรือรักษาโรคไว้เช่นเดิม น้ำดื่ม สมุนไพร คือส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรเพื่อให้ยั่งยืนคู่สังคมไทย และสภาพแวดล้อมไทยต่อไป
              น้ำเพื่อสุขภาพ ในปัจจุบัน การบริโภค น้ำเพื่อสุขภาพมียอดเพิ่มขึ้นทั่วโลก เพราะ ทุกคนตระหนักแล้วว่าเครื่องดื่ม ประเภทนี้ ไม่เพียงช่วยดับกระหายเท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารมากมายด้วย ในประเทศไทยจำนวนคนที่ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพเป็นประจำมีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีฐานะดี น้ำเพื่อสุขภาพอุดมไปด้วย วิตามิน ซีและเอ ซึ่งมีประโยชน์ แก่ร่ายกายในการป้องกันโรค บางประเทศนั้นให้ความสำคัญของการ กินผักผลไม้ มากในทวีปเอเชีย เช่น ฮ่องกง รัฐบาล มีการรณรงค์ ให้ประชาชนรับประทานผลไม้สามส่วนและผักอีกสองส่วนเป็นประจำทุกวัน สิ่งที่เห็นได้ว่า ประชาชนให้ความสำคัญต่อการดื่มน้ำผักผลไม้มากขึ้น เช่น บาร์ หลายแห่งหันมาจำหน่ายน้ำผลไม้ด้วย แสดงว่าคนหนุ่มสาวกำลังนิยมและดื่มน้ำเพื่อสุขภาพมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมองหาน้ำเพื่อสุขภาพไม่เติมน้ำตาลมากขึ้น คนทั่วไปชอบน้ำเพื่อบรรจุกระป๋อง เพราะความสะดวกเก็บไว้ได้นานราคาย่อมเยาและรสชาติอร่อยคนทั่วไปเริ่มซื้อน้ำผลไม้มารับประทานที่บ้าน หลายคนตระหนักว่าน้ำเพื่อสุขภาพสำคัญต่อภาวะโภชนาการดังนั้นในแต่ละวัน ผู้คนจึงดื่มน้ำผลไม้มากพอสมควร

                                                             บทที่ 1

    
   บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน


            กินอยู่อย่างไทย ตามแบบภูมิปัญญาไทยเพื่อบำรุงสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรหรือผักผลไม้หรือดอกไม้ที่หาได้ไม่ยากในวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆ นำมาปรุงแต่งให้เป็นเครื่องดื่ม โดยยังคงคุณค่าตัวยาในการส่งเสริมสุขภาพหรือรักษาโรคไว้เช่นเดิม น้ำดื่ม สมุนไพร คือส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรเพื่อให้ยั่งยืนคู่สังคมไทย และสภาพแวดล้อมไทยต่อไป
              น้ำเพื่อสุขภาพ ในปัจจุบัน การบริโภค น้ำเพื่อสุขภาพมียอดเพิ่มขึ้นทั่วโลก เพราะ ทุกคนตระหนักแล้วว่าเครื่องดื่ม ประเภทนี้ ไม่เพียงช่วยดับกระหายเท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารมากมายด้วย ในประเทศไทยจำนวนคนที่ดื่มน้ำเพื่อสุขภาพเป็นประจำมีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีฐานะดี น้ำเพื่อสุขภาพอุดมไปด้วย วิตามิน ซีและเอ ซึ่งมีประโยชน์ แก่ร่ายกายในการป้องกันโรค บางประเทศนั้นให้ความสำคัญของการ กินผักผลไม้ มากในทวีปเอเชีย เช่น ฮ่องกง รัฐบาล มีการรณรงค์ ให้ประชาชนรับประทานผลไม้สามส่วนและผักอีกสองส่วนเป็นประจำทุกวัน สิ่งที่เห็นได้ว่า ประชาชนให้ความสำคัญต่อการดื่มน้ำผักผลไม้มากขึ้น เช่น บาร์ หลายแห่งหันมาจำหน่ายน้ำผลไม้ด้วย แสดงว่าคนหนุ่มสาวกำลังนิยมและดื่มน้ำเพื่อสุขภาพมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมองหาน้ำเพื่อสุขภาพไม่เติมน้ำตาลมากขึ้น คนทั่วไปชอบน้ำเพื่อบรรจุกระป๋อง เพราะความสะดวกเก็บไว้ได้นานราคาย่อมเยาและรสชาติอร่อยคนทั่วไปเริ่มซื้อน้ำผลไม้มารับประทานที่บ้าน หลายคนตระหนักว่าน้ำเพื่อสุขภาพสำคัญต่อภาวะโภชนาการดังนั้นในแต่ละวัน ผู้คนจึงดื่มน้ำผลไม้มากพอสมควร

1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
2. เพื่อส่งเสริมให้คนหันมารักสุขภาพ
3. เพื่อต้องการศึกษาความเป็นมาของสมุนไพรไทย

4. เพื่อศึกษาประโยชน์ของผัก ผลไม้ และดอกไม้ชนิดต่างๆของไทย

1.3 สมมติฐานของโครงงาน
              สามารถเรียนรู้ถึงประโยชน์ และโทษของผัก ผลไม้ไทย และเพื่อที่จะสร้างผลงานออกมาให้เป็นข้อคิดที่ดีและเป็นประโยชน์แก่สังคมไทยได้

1.4 ขอบเขตของโครงงาน
1. ศึกษาค้นคว้าสมุนไพรไทย
2. ศึกษาค้นคว้าการทำสมุนไพรไทย
3. ศึกษาความเป็นมาของสมุนไพร

4.ศึกษาตามโครงงานสมุนไพร
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้คนที่หันกลับมาดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น
2.น้ำผักและผลไม้ช่วยให้สุขภาพดี
3. ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพของสมุนไพรชนิดนั้นๆ
1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
สมุนไพร หมายถึง ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ
ผัก คือพืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร ซึ่งไม่นับรวมผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ แต่เห็ด ซึ่งในทางชีววิทยาจัดเป็นพวกเห็ดรา ก็นับรวมเป็นผักด้วย
ผลไม้ หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว ตัวอย่างผลไม้ เช่น  กล้วย  มะม่วง รวมถึง มะเขือเทศ ที่สามารถจัดได้ว่าเป็นทั้งผักและผลไม้
                ดอกไม้ หมายถึง ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทําให้เกิดผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์ เรียกเต็มว่าดอกไม้ ลวดลายที่เป็นดอกเป็นดวงตามผืนผ้าเป็นต้น



 (ปาก) ค่าตอบแทนที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อทดแทนการไม่ชําระหนี้หรือชําระหนี้ไม่ถูกต้อง เรียกเต็มว่า ดอกเบี้ย ลักษณนามของสิ่งของบางอย่าง เช่น ข้าวโพดดอกหนึ่ง สว่าน
หนึ่งดอก.(โบ) ก. ทํา เช่น ดอกขายหูขายตา ดอกบนําพารู้. (ลอ).ว. คําประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทําไม่ได้ดอก (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้วโลมคืน. (ม. คําหลวง ชูชก).


บทที่ 2
                                                 เอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง
สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวานกานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า เครื่องเทศ
ความหมาย
คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรือ



อัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น
ลักษณะ
พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น ประการ ดังนี้
รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร
ประเภทของยาเภสัชวัตถุ
ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2ประเภทคือ ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น
บทบาททางเศรษฐกิจ
สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนิน โครงการ สมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคใน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น และ ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้ปีละเป็นจำนวนมาก


การศึกษาเพิ่มเติม ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป
การเก็บรักษาสมุนไพร
1.ควรเก็บยาสมุนไพรไว้ในที่แห้งและเย็น สถานที่เก็บสมุนไพรนั้นต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อขับไล่ความอับชื้นที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อราในสมุนไพรได้
2.สมุนไพรที่จะเก็บรักษานั้นต้องแห้งไม่เปียกชื้น หากเสี่ยงต่อการขึ้นราได้ ควรนำสมุนไพรนั้นออกมาตากแดดอย่างสม่ำเสมอ
3.ในการเก็บสมุนไพรนั้นควรแยกประเภทของสมุนไพรในการรักษาโรค เพื่อป้องกันการหยิบยาผิดซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
4.ควรตรวจดูความเรียบร้อยในการเก็บสมุนไพรบ่อย ๆ ว่ามีสัตว์หรือแมลงต่างๆ เข้าไปทำลายหรือก่อความเสียหายกับสมุนไพรที่เก็บรักษาหรือไม่ ถ้ามีควรหาทางป้องกันเพื่อรักษาคุณภาพของสมุนไพร


การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้
1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น
2.ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้
3.ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
4.ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง
5.ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น ท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ผาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น
วิธีการปรุงยาสมุนไพร โดย แพทย์หญิงนันทพร นิลวิเศษ และคนอื่นๆ 
          ตำรายาไทยส่วนใหญ่กล่าวถึงวิธีปรุงยาไว้ 24 วิธี แต่บางตำราเพิ่มวิธีที่ 25 คือ วิธีกวนยา ทำเป็นขี้ผึ้งปิดแผลไว้ด้วย
          ในจำนวนวิธีปรุงยาเหล่านี้มีผู้อธิบายรายละเอียดวิธีปรุงที่ใช้บ่อยๆ  ไว้ดังนี้คือ
ยาต้ม          การเตรียม ปริมาณที่ใช้โดยทั่วไป คือ 1 กำมือ เอาสมุนไพรมาขดมัดรวมกันเป็นท่อนกลมยาวขนาด 1 ฝ่ามือ กว้างขนาดใช้มือกำได้โดยรอบพอดี ถ้าสมุนไพรนั้นแข็ง นำมาขดมัดไม่ได้ให้หั่นเป็นท่อนยาว 5-6 นิ้วฟุต กว้าง ๑/๒นิ้วฟุต แล้วเอามารวมกันให้ได้ขนาด 1 กำมือ
          การต้ม เทน้ำลงไปพอให้น้ำท่วมยาเล็กน้อย(ประมาณ 3-4 แก้ว) ถ้าปริมาณยาที่ระบุไว้น้อยมาก เช่น ใช้เพียง 1 หยิบมือ ให้เทน้ำลงไป 1 แก้ว (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) ต้มให้เดือดนาน 10-30 นาที แล้วแต่ว่าต้องการให้น้ำยาเข้มข้นหรือเจือจาง ยาต้มนี้ต้องกินในขณะที่ยายังอุ่นๆ



ยาชง
          การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งชง โดยหั่นต้นสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้ง  ถ้าต้องการให้ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวให้เอาไปคั่วเสียก่อนจนมีกลิ่นหอม
          การชง ใช้สมุนไพร 1 ส่วน เติมน้ำเดือดลงไป 10 ส่วน ปิดฝาตั้งทิ้งไว้  15-20 นาที
ยาดอง
          การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งดอง โดยบดต้นไม้ยาให้แหลกพอหยาบๆ ห่อด้วยผ้าขาวบางหลวมๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ
          การดอง เติมเหล้าโรงให้ท่วมห่อยา  ตั้งทิ้งไว้ 7 วัน
ยาปั้นลูกกลอน
          การเตรียม หั่นสมุนไพรสดให้เป็นแว่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงในขณะที่ยายังร้อนแดดอยู่เพราะยาจะกรอบบดได้ง่าย
          การปั้นยา ใช้ผงยาสมุนไพร 2 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม 1 ส่วน  ตั้งทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง  เพื่อให้ยาปั้นได้ง่ายไม่ติดมือ  ปั้นยาเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เสร็จแล้วผึ่งแดดจนแห้ง จากนั้นอีก 2 สัปดาห์   ให้นำมาผึ่งแดดซ้ำอีกทีเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้นยา


ยาตำคั้นเอาน้ำกิน
          การเตรียม นำสมุนไพรสดๆ มาตำให้ละเอียดหรือจนกระทั่งเหลว   ถ้าตัวยาแห้งไปให้เติมน้ำลงไปจนเหลว
          การคั้น คั้นเอาน้ำยาจากสมุนไพรที่ตำไว้นั้นมารับประทาน  สมุนไพรบางอย่าง เช่น กระทือกระชายให้นำไปเผาไฟให้สุกเสียก่อนจึงค่อยตำ
ยาพอก
          การเตรียม ใช้สมุนไพรสดตำให้แหลกที่สุดให้พอเปียกแต่ไม่ถึงกับเหลว ถ้ายาแห้งให้เติมน้ำหรือเหล้าโรงลงไป
          การพอก เมื่อพอกยาแล้วต้องคอยหยอดน้ำให้ยาเปียกชื้นอยู่เสมอ   เปลี่ยนยาวันละ 3 ครั้ง 
ศัพท์ที่ใช้ในการปรุงยา 
          ในการปรุงยาผู้ปรุงยังจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับคำบางคำ ได้แก่
          ทั้งห้า หมายถึง ต้น ราก ใบ ดอก และผล
          ส่วน หมายถึง ส่วนในการตวง (ปริมาตร)ไม่ใช่การชั่งน้ำหนัก
          กระสายยา หมายถึง ตัวละลายยา เช่น น้ำ และน้ำปูนใส เป็นต้น
          การสะตุ หมายถึงการแปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่น เกลือ สารส้ม หรือเครื่องยาให้เป็นผงบริสุทธิ์โดยวิธีทำให้สลายตัวด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการซึ่งเป็นมลทินระเหยหมดไปหรือเพื่อให้เครื่องยามีฤทธิ์อ่อนลงโดยอาจเติมสารบางอย่าง เช่น น้ำมะนาว น้ำมะลิ เป็นต้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องยาหรือสมุนไพรนั้นๆ
          ประสะ มีความหมาย 3 ประการคือ
          1. การทำความสะอาดตัวยา หรือการล้างยา เช่น การทำความสะอาดเหง้าขิง เหง้าข่า
          2. การใช้ปริมาณยาหลักเท่ากับยาทั้งหลายเช่น ยาประสะกะเพรา มีกะเพราเป็นหลัก  และตัวยาอื่นๆ อีก ๖ ชนิด การปรุงจะใช้กะเพรา 6 ส่วน ตัวยาอื่นๆ อย่างละ 1 ส่วน รวม 6 ส่วนเท่ากะเพรา
          3. การทำให้พิษหรือสิ่งที่ไม่ต้องการของตัวยาอ่อนลง โดยที่ตัวยาที่ต้องการคงสภาพเดิม เช่น ประสะมหาหิงคุ์ หมายถึงการทำให้กลิ่นเหม็นของมหาหิงคุ์ลดลง โดยใช้น้ำใบกะเพราต้มเดือดมาละลายมหาหิงคุ์
          ใบเพสลาด หมายถึง ใบไม้ที่จวนแ
กำหนดอายุของยา 
          จะเห็นว่าการปรุงยาไทย มักใช้สมุนไพรหลายชนิด และใช้วิธีการต่างๆ  ตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลในการรักษา และคำนึงถึงความปลอดภัยไปพร้อมกัน จึงกำหนดอายุของยาไว้ด้วยดังนี้
          1. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ มีอายุได้ประมาณ 3-6 เดือน
          2. ยาผงที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ มีอายุได้ระหว่าง 6-8 เดือน
          3. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้และแก่นไม้อย่างละเท่ากัน มีอายุได้ประมาณ 5-6 เดือน
          อายุของยาที่เป็นเม็ดเป็นแท่ง หรือลูกกลอนมีกำหนดอายุไว้ดังนี้          1. ยาเม็ดที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ  มีอายุประมาณ 6-8 เดือน
          2. ยาเม็ดที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ  มีอายุประมาณ 1 ปี
          3. ยาเม็ดที่ผสมด้วยหัวหรือเหง้าของพืช  รวมกับแก่นไม้ มีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง
          ทั้งยาเม็ดและยาผง ถ้าเก็บรักษาไว้ดีจะมีอายุยืนยาวกว่าที่กำหนดไว้ และถ้าเก็บรักษาไม่ดีก็อาจเสื่อมเร็วกว่ากำหนดได้ 
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปรุงยา 
          1. ถ้าไม่ได้บอกไว้ว่าให้ใช้สมุนไพรสดหรือแห้ง ให้ถือว่าใช้สมุนไพรสด
          2. ยาที่ใช้กินถ้าไม่ได้ระบุวิธีปรุงไว้ ให้เข้าใจว่าใช้วิธีต้ม
          3. ยาที่ใช้ภายนอกร่างกายถ้าไม่ได้ระบุวิธีปรุงไว้ ให้เข้าใจว่าใช้วิธีตำพอก
          4. ยากิน ให้กินวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร
          5. ยาต้ม ให้กินครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว ยาดองเหล้า และยาตำคั้นเอาน้ำกินครั้งละ  1/2 - 1ช้อนโต๊ะ ยาผง  กินครั้งละ  1-2  ช้อนชา ยาปั้นลูกกลอนกินครั้งละ 1-2 เม็ด (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร) และยาชง ให้กินครั้งละ 1 แก้ว 



บทที่ 3
ขั้นตอนการดำเนินการ
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. กล้องดิจิตอล
2. เอกสารเกี่ยวกับสมุนไพรต่างๆ
3. เอกสารการทำสมุนไพร


4. ดินสอ ปากกา กระดาษ
5. คอมพิวเตอร์  เครื่องปริ้น
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
3. ศึกษาการพัฒนาขอสมุนไพรไทยในอดีตและปัจจุบัน
4. จัดทำข้อเสนอโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา
5. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาทราบซึ่งครูที่
ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น
6. จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอเป็นรูปเล่ม



                                                                    บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
ในการจัดทำโครงงานสมุนไพรไทยจากผัก ผลไม้  ผู้จัดทำโครงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรไทย อีกทั้งยังสอดแทรกสาระความรู้ในเรื่องต่าง ๆเกี่ยวกับสุขภาพ 
รวมทั้งเพื่อปลูกฝังการรักษาสุขภาพ นำเสนอผลงานออกมาเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการรักษาสุขภาพ และโรคภัยไข้เจ็บได้ จากการดำเนินการดังกล่าว มีผลการดำเนินงานดังนี้
                                          กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด
     เสาวรส


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Passiflora laurifolia  L.
ชื่อสามัญ :  Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla
วงศ์ :  Passifloraceae
ชื่ออื่น : สุคนธรส (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก ที่ก้านใบมีต่อมใบ ดกหนา เป็นมันสีเขียวแก่ ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมี





กลิ่นหอมแรงจัดมาก ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง
สรรพคุณ : ลดไขมันในเส้นเลือด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลที่แก่จัด ไม่จำกัดจำนวน ล้างสะอาด ผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อมตามชอบ ใช้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ลดไขมันในเส้นเลือด



กระเจี๊ยบ
         
  

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ :  Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
          นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน          นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป


         กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
            กุ่มบก





ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Crateva adansonii  DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs
วงศ์ :  Capparaceae
ชื่ออื่น : ผักกุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ มม. ยาวประมาณ มม. ผิวเรียบ
สรรพคุณ :
  • ใบ  -  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก
  • เปลือก  - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ
  • กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา
  • แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง
  • ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม
 ขมิ้น





ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Curcuma longa  L.
ชื่อสามัญ :   Turmaric
ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)
วงศ์ :   Zingiberaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจาก
เหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4ดอก ผล รูปกลมมี พู

ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง
สรรพคุณ :
1.             เป็นยาภายใน
- แก้ท้องอืด
- แก้ท้องร่วง
- แก้โรคกระเพาะ
2.             เป็นยาภายนอก
- ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง พุพอง
- ยารักษาชันนะตุและหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน


วิธีและปริมาณที่ใช้
1.             เป็นยาภายใน
เหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง
2.             เป็นยาภายนอก
เหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก



                กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง
ทองพันชั่ง










ชื่ออื่น :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)
วงศ์ :   ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ :    White crane flower
ชื่อพ้อง : R. communis  Nees
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ส่วนโคนต้นเนื้อไม้เป็นแกนแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผล เป็นฝักเล็ก พอแห้งแตกออกได้
ส่วนที่ใช้ : ราก  ทั้งต้น  ต้น  ใบ
สรรพคุณ :
ราก - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง
ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
ต้น - บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง
ใบ - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง
นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ
ราก - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวง
ทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วง รักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทำให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค
ทั้งต้น  - รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน
ต้น - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลำไส้ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนังใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั่ง แก้สารพัดพิษ
นอกจากนี้ในตำราบางเล่ม ยังได้กล่าวถึงสรรพคุณทองพันชั่ง โดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใดของพืช หรือส่วนใดในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคมะเร็ง แก้มุตกิตระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว
 
- แก้เคล็ดขัดยอกชายโครง มือเคล็ด คอเคล็ด แก้มะเร็งในกระเพาะ แก้ฝีประคำร้อย แก้มะเร็งในคอ แก้มะเร็งในปาก แก้ไข้เหนือ แก้จุกเสียด เป็นยาหยอดตา แก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้นิ่ว แก้โรคผิวหนัง แก้ลมสาร แก้มะเร็งในปอด แก้มะเร็งภายในและภายนอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้รับประทานเป็นยาภายใน รักษาโรคมะเร็ง และวัณโรคระยะเริ่มแรก
1. ใช้ทั้งต้น สด จำนวน 30 กรัม ต้มกับน้ำ จำนวนท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ
2. ใช้ก้านและใบสด 30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) ผสมน้ำตาลกรวดต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดระยะเริ่มแรก
ใช้เป็นยาภายนอก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคันอื่นๆ
1. ใช้ใบสด 5-8 ใบ หรือ รากสด 2-3 ราก
ใบสดตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน หรือเอารากมาป่น แช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ กรองเอาน้ำยาที่แช่มาทา ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
2. ใช้ใบสดตำผสมน้ำมันดิบ หรือ แอลกอฮอล์ 75% ทาบริเวณที่เป็น



          นมอิน 




 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Catharanthus roseus  (L.) G.Don
ชื่อสามัญ :  Cape Periwinkle, Bringht Eye, Indian Periwinkle, Madagascar Periwinkle, Pinkle-pinkle
วงศ์ :   Apocynaceae
ชื่ออื่น :  นมอิน (สุราษฎร์ธานี)ผักปอดบก (ภาคเหนือ)แพงพวยบกแพงพวยฝรั่ง (กรุงเทพมหานคร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 0.5-0.9 เมตร โคนต้นค่อนข้างแข็ง ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่กลับ กว้าง 2-3 เซ็นติเมตร ยาว 5-7 เซ็นติเมตร ปลายมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย โคนมนสีเขียวเข้มเป็นมันก้านและเส้นกลางใบมีสีขาว ดอก มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ชมพู ฯลฯ ออกตามซอกใบ 1-3 ดอก กลีบดอกเป็นหลอดยาว 2.5-3 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น กลีบ เกสรตัวผู้ อัน ผล เป็นฝักยาว 2-3 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้ 
ส่วนที่ใช้ :  
ใบ ราก ทั้งต้นสดหรือแห้ง
สรรพคุณ :
  • ใบ - บำรุงหัวใจ ช่วยย่อย

  • ราก 
    - แก้บิด ขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือด
    - รักษามะเร็งในเม็ดเลือด
  • ทั้งต้น
    - แก้เบาหวาน ลดความดัน
    - รสจืด เย็นจัด ใช้แก้ร้อน
    - ขับปัสสาวะ แก้บวม ถอนพิษสำแดง ถอนพิษต่างๆ แก้ไอแห้งๆ เกิดจากร้อน
    - แก้อาการตัวเหลืองอันเกิดจากพิษสุรา
    - แก้โรคหนองใน หัด ผื่นคันและแผลอักเสบอื่นๆ


บทที่ 5
                                        สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
             1. เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
             2. เพื่อส่งเสริมให้คนหันมารักสุขภาพ
             3. เพื่อต้องการศึกษาความเป็นมาของสมุนไพรไทย
              4. เพื่อศึกษาประโยชน์ของผัก ผลไม้ และดอกไม้ชนิดต่างๆของไทย
5.2 ขอบเขตของโครงงาน
             1. ศึกษาค้นคว้าสมุนไพรไทย
             2. ศึกษาค้นคว้าการทำสมุนไพรไทย
             3. ศึกษาความเป็นมาของสมุนไพร
              4.ศึกษาตามโครงงานสมุนไพร
5.3วิธีการดำเนิน
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
3. ศึกษาการพัฒนาขอสมุนไพรไทยในอดีตและปัจจุบัน


4. จัดทำข้อเสนอโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา
5. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาทราบซึ่งครูที่
ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น
6. จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอเป็นรูปเล่ม
5.1 สรุปผลการศึกษา
                จากการศึกษาทดลองโครงงานเรื่อง สมุนไพรไทยในปัจจุบัน โดยแยกการศึกษาดังนี้
1.             สมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากไม่รักษาสุขภาพ ไม่ออกกำลังกาย และที่สำคัญกินอาหารที่มีไขมันมากจนเกินไป จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันในเส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยก็มีสมุนไพรไทยที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดนั้นก็คือ เสาวรส ซึ่งเสาวรสเป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ผลเป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลางอีกทั้งยังมี กระเจี๊ยบ ซึ่งกระเจี๊ยบมีลักษณะไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบกระเจี๊ยบได้รับความนิยมมากในเรื่องของน้ำกระเจี๊ยบ ซึ่งคนไทยจะนำมาต้มแล้วนำไปดื่ม และใบยังสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะอีกด้วย


2.             สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน ผลการศึกษาพบว่า คนไทยมักจะมีปัญหากับผิวหนังเป็นจำนวนมาก ซึ่งผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและอวัยวะทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องรองรับ และถูกเสียดสี อันที่จริงแล้วผิวหนังของคนเราก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่นะครับ เรียกว่าเป็นเชื้อประจำถิ่น (Normal Flora) ซึ่งโดยปกติจะไม่ทำให้เกิดโรคครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังไปจากเดิม เช่น มีบาดแผล มีโรคผิวหนังอื่น ๆ อยู่ก่อน สุขอนามัยไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อเหล่านี้ก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคได้ ตัวที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Staphylococcus pyogenes โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่แผลพุพอง (impetiongo) เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือละเลยบาดแผลเล็ก ๆ จะลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และตามแขน-ขาทั่วไป เริ่มแรกเป็นเพียงผื่นแดงเล็ก ๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส เมื่อแตกออกพื้นแผลจะเป็นสีแดง มีน้ำเหลืองไหล พอแห้งจะตกเป็นสะเก็ดเหลืองเกาะที่แผล ถ้าเกิดที่หนังศีรษะมีชื่อเรียกว่าชันนะตุ หากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น หรือกินลึกลงไปมากขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้ผิวหนังอักเสบ (Cellulitis)เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นได้ผิวหนัง    ลักษณะเป็นผื่นแดงจัด ลามอย่างรวดเร็ว กดเจ็บและออกร้อน แยกจากไฟลามทุ่งได้จากขอบเขตที่ไม่ชัดเจน มักพบว่ามีอาการใช้และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย พบได้บ่อยในรายที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือติดสุรา ซึ่งประเทศไทยก็มีสมุนไพรไทยที่ช่วยรักษานั้นก็คือ กุ่มบก ซึ่งกุ่มบกเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย ใบ ซึ่งใบจะช่วยในการขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก และแก่นยังช่วยแก้ริดสีดวง ผอม เหลือง และยังมีขมิ้น ซึ่งขมิ้นสามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป ขมิ้นยังสามารถเป็นยาภายในแก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง และแก้โรคกระเพาะอีกด้วย


3.             สมุนไพรแก้มะเร็ง ผลการศึกษาพบว่า ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งกว่า 100,000รายในจำนวนนั้นกว่า 60,000 รายที่เสียชีวิตถือเป็นโรคร้ายแรงที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที โรคมะเร็ง คือ การกลายพันธุ์ในยีนส์ซึ่งปกติในร่างกายเรามีเซลล์อยู่หลายชนิด  แต่ละชนิดเมื่อเราอายุมากขึ้นจะมีเซลล์บางส่วนตายไปจึงเกิดการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องอาศัยแม่แบบจากเซลล์เดิมเป็นต้นแบบ เช่น ตับแท้จริงแล้วตับมีอายุไม่ถึง เดือน ผิวหนังมีอายุแค่ 21 วันก็ตาย เลือดก็มีอายุประมาณ 90 วัน ในระหว่างที่ใช้แม่แบบเดิมนานเข้าก็เกิดการผิดพลาดเนื่องจากตัวแม่แบบโดนโจมตี  ซึ่งอาจถูกโจมตีโดยไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา รังสี อย่างเช่นคนที่ขึ้นเครื่องบินบ่อยๆ ก็มีรังสีคอสมิก และสมุนไพรไทยที่ช่วยแก้โรคมะเร็งก็คือ ทองคันชั่ง มีลักษณะเป็นดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามซอก ซึ่งใบรากช่วยแก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง และยังมีนมอิน นมอินเป็นไม้ล้มลุก ดอกจะมีหลายสีเช่นสีขาว สีชมพู  ซึ่งใบช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยย่อย และรากช่วยแก้บิด ขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือดรักษามะเร็งในเม็ดเลือด
5.4  ข้อเสนอแนะ
                  1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผัก ผลไม้ และดอกไม้มากกว่านี้
   2. ควรมีศึกษาข้อมูลให้ละเอียดและรอบคอบ
   3. ควรมีการจำแนะสมุนไพรรักษาโรคมากกว่านี้    

บรรณานุกรม

เกร็ดความรู้


มุนไพร (Herb) และ สมุนไพรไทย (Thai Herb) คือ พืช ผัก และผลไม้ที่ถูกนำมาใช้เป็นยาและสิ่งบำรุงร่างกายมานานนับพันปี โดยที่สมุนไพรเหล่านี้มีทั้งแบบนำผล ใบ ราก เปลือก ยาง เนื้อไม้ เถา หัวและดอก หรือทั้งต้นมาใช้งาน ประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรไทยเหล่านี้มีทั้งการนำมารับประทานสด การนำมาต้มรับประทานแบบยาแผนโบราณ บางชนิดก็ใช้ทาหรือพอกเพื่อรักษาโรค เป็นต้น
สมุนไพรและสมุนไพรไทยนั้นมีมากมายหลายชนิด เราได้รวบรวมรายชื่อสมุนไพรเหล่านี้พร้อมประโยชน์และสรรพคุณ โดยเรียงตามหมวดอักษรจำนวนกว่า 1,500 ชนิด ดังนี้
สมุนไพรไทย หมวด ก. 

รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 กรรณิการ์ให้สีส้มสำหรับทำขนมและย้อมผ้า ช่วยบำรุงผิวหนัง แก้ปวดและเวียนศีรษะ ช่วยลดอาการไข้
 ก้นจ้ำใช้ตำหยอดตาแก้อาการตามัว มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลสด แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก
 ก้นจ้ำขาวใช้ตำพอกตาแก้อาการตาอักเสบ สามารถนำมาพอกช่วยห้ามเลือดและสมานแผล ทั้งแผลสดและแผลเรื้อรัง ช่วยลดอาการปวดหูและปวดฟัน
 ก้นบึ้งน้อยนิยมนำรากมาต้มดื่ม ช่วยลดอาการไข้และอาการร้อนใน
 กระชายมีประโยชน์ช่วยแก้โรคในปากและคอ แก้อาการโลหิตเป็นพิษและถอนพิษต่างๆ ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยารักษาริดสีดวงทวารและช่วยขับปัสสาวะ
 กระเจี๊ยบเขียวช่วยลดการดูดซึมไขมัน (ลดความอ้วนได้ดี) มีสารเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงเลือด และช่วยให้ฟันและกระดูกแข็งแรง
 กระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเหนียวข้นของเลือด และช่วยขับปัสสาวะ
 กระเทียมหนึ่งในสมุนไพรที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นอนท้อง ควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด ช่วยรักษาแผลทั้งแผลสดและแผลเรื้อรัง ลดการเกิดลิ่มเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง


 กระเบาน้ำมีประโยชน์ช่วยรักษาโรคเรื้อน อาการผื่นคันตามผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อ และรักษาโรคเกี่ยวกับหนังศีรษะ
 กระแตไต่ไม้หนึ่งในสุดยอดสมุนไพรไทยสำหรับรักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคไต มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะและรักษาอาการของนิ่ว กำจัดพยาธิ นิยมใช้ใบตำพอกแผลแก้แผลเรื้อรังและแผลพุพอง
 กระดังงาใช้เป็นยาขับลมและบำรุงเลือด ช่วยขับปัสสาวะ มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคหอบหืดและอาการคันตามผิวหนัง
 กระดังงาไทยเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ ช่วยแก้ลมวิงเวียน ใช้ทำเครื่องสำอางและน้ำอบ และเป็นยาขับปัสสาวะอีกด้วย
 กระถินมีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับพยาธิ ควบคุมความดันให้ปกติ รักษาอาการท้องร่วง และช่วยสมาแผล
 กระทกรกช่วยบำรุงสมอง คลาดเครียดและอาการซึมเศร้า ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด มีสรรพคุณรักษาอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
 กระท้อนใช้ขับเหงื่อ รักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน เป็นยาขับลมและแก้ท้องเสีย
 กระทือมีสรรพคุณแก้เคล็ดขัดยอก แก้ไข้เรื้อรัง ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และเป็นยาบำรุงกำลัง
 กระบือเจ็ดตัวช่วยขับน้ำคาวปลาหลังคลอดสำหรับสตรีในช่วงอยู่ไฟ ช่วยขับเลือดเสีย
 กระวานช่วยฟอกเลือดและบำรุงร่างกาย รักษาโรคโลหิตเป็นพิษ แก้ลมและลดอาการจุกเสียด
รักษาโรครำมะนาด
 กรดน้ำใช้ขับระดูขาว ขับพยาธิ และขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ รักษาโรคเหงือกบวมและปากเปื่อย มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน และช่วยลดอาการท้องเสีย
 แก้ว/ดอกแก้วช่วยขับพยาธิตัวตืด แก้โรคบิด ท้องเสีย แก้ไขข้ออักเสบ และเป็นยาขับประจำเดือน
 กฤษณาเป็นยาบำรุงหัวใจ รักษาโรคปวดข้อ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้ลมวิงเวียน ช่วยรักษาโรคเรื้อนและโรคผิวหนังได้
 กล้วยไข่ให้พลังงานสูงและทันที มีกากใยมาก ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย ช่วยรักษาโรคโลหิตจางและควบคุมความดันเลือด ช่วยรักษาแผลในลำใส้และรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล
 กล้วยน้ำว้ามีประโยชน์ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยแก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง และช่วยขับน้ำนม
 กล้วยหอมมีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ลดอาการตระคิว รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้อาการท้องผูก ช่วยรักษาแผลในกระเพาะและลำใส้ รักษาอาการเมาค้าง และช่วยลดกลิ่นปาก
 กล้วยหักมุกช่วยแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ แก้อาเจียนและช่วยเจริญอาหาร ลดความดันโลหิต ช่วยย่อยอาหารและฆ่าพยาธิ ขับลมในลำไส้ และช่วยลดอาการไข้
 กลิ้งกลางดงมีสรรพคุณช่วยแก้พิษร้อน ดับพิษฝีกาฬซึ่งมีพิษร้ายแรง และยังช่วยแก้ปวดเมื่อยตามข้อต่างๆ
 กวาวเครือขาวช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยกระชับช่องคลอด บำรุงเลือดและสมอง ช่วยทำให้ผิวพรรณดี ระบบขับถ่ายทำงานปกติ และช่วยบำรุงสายตา
 กวาวเครือแดงช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณให้ดีขึ้น ช่วยชะลอความแก่ ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ลดอาการปวดเมื่อยและป้องกันโรคอัลไซเมอร์
 กะเพราเป็นสมุนไพรไทยแก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้อง รักษาหูด กลากเกลื้อน ต้านเชื้อรา ขับพยาธิ และเป็นยาอายุวัฒนะ
 กะหล่ำปลีมีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง ช่วยขับสารพิษ ช่วยให้ตับทำงานดีขึ้น ช่วยบำรุงสายตา มีใยอาหารสูงช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย
 กะหล่ำปลีม่วงอุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยป้องกันโรคหวัดและเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยต้านการเกิดมะเร็งและชะลอความแก่ ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย
 กันเกรามีสรรพคุณช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ รักษาอาการริดสีดวง ช่วยลดไข้ บำรุงม้ามและขับลม
 กานพลูช่วยขับลมและเป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย  แก้โรคเหน็บชา แก้หืด ขับเสมหะ ช่วยลดกลิ่นปากและรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
 การะเกดลดอาการเจ็บคอ แก้เสมหะ เป็นยาบำรุงช่วยให้ชุ่มชื่น
 กาหลงสมุนไพรโบราณ มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต แก้อาการปวดหัว ละลายเสมหะและช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
 กาฬพฤกษ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาช่วยให้อาเจียนและถ่ายพิษไข้ได้ดี
 กำลังพญาเสือโคร่งมีสรรพคุณช่วยล้างไต ขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงมดลูกอันเนื่องมาจากการแท้งบุตรให้กลับมาทำงานปกติ ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง
 กุ่มน้ำช่วยลดไข้และอาการเจ็บคอ ขับเหงื่อ ช่วยรักษาโรคนิ่วและโรคริดสีดวงทวาร
 กุ่มบกมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน แก้ริดสีดวง ขับลม ช่วยกำจัดพยาธิ
 กุยช่ายช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด ช่วยฆ่าเชื้อและช่วยถ่ายพยาธิ มีสรรพคุณรักษาโรคนิ่วและหนองใน
 กุหลาบมอญแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงหัวใจ เป็นยาระบายอ่อนๆ นิยมใช้แต่งกลิ่นยาและเครื่องสำอาง

 เก๋ากี้ช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีวิตามินซีสูงช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน บำรุงสายตา แก้โรคอัลไซเมอร์ นับได้ว่าเป็นสมุนไพรจีนชั้นเลิศ ถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะตัวหนึ่ง

สมุนไพร หมวด ข.
 
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 ขนุนช่วยบำรุงกำลังและบำรุงเลือด แก้อาการปวดหูและหูเป็นน้ำหนวก ช่วยรักษากามโรค และแกเนของต้นขนุนให้สีน้ำตาลแก่สำหรับย้อมผ้า
 ขมิ้น/ขมิ้นชันช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ ช่วยฆ่าเชื้อโรคและลดอาการติดเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลม ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ท้องร่วง
 ขลู่นิยมใช้รักษาริดสีดวงทวารและริดสีดวงจมูก มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่วในไต แก้แผลอักเสบ ช่วยรักษาโรคบิด แก้ไข้ และขับเหงื่อ
 ข่อยใช้เป็นเป็นยาบำรุงหัวใจ ฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ริดสีดวงจมูก ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ทำให้ฟันแข็งแรงและไม่ผุ มีสรรพคุณในการรักษาโรคบิด ท้องเสีย ลดไข้ และฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
 ข่ามีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ อาหารเป็นพิษ ช่วยขับลมลดอาการท้องเฟ้อ รวมถึงเป็นยาฆ่าเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน
 ข้าวสารเถาสมุนไพรโราณอีกชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคตาแดง ตาแฉะ และตามัว
 ขิงมีสรรพคุณช่วยขับลม ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยฆ่าพยาธิและขับปัสสาวะ บำรุงสายตา ช่วยละลายเสมหะ แก้ไอและเจ็บคอ บำรุงสายตาและช่วยเจิริญอาหาร
 ขี้เหล็กช่วยให้นอนหลับ รักษารังแค ขับพยาธิ รักษาโรคเหน็บชา ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบายช่วยให้ขับถ่ายได้ดี รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคเบาหวาน รักษาอาการของโรคหนองใน มะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหารและช่วยลดอาการความดันโลหิตสูง

สมุนไพรไทย หมวด ค.
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 แคดอกแดงแก้ไข้หัวลม แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้ รักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง
 แคดอกขาวใช้รับประทานแก้โรคบิดมีตัว รักษาโรคริดสีดวงในจมูก แก้อาการฟกช้ำ และเป็นยาระบายอ่อนๆ
 แครอทอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยบำรุงสายตา ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต มีสรรพคุณช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น บำรุงสมอง และช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้น
 ครอบฟันสีมีสรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ท้องร่วง และช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคเรื้อน คางทูม ช่วยฟอกเลือด และรักษาเหงือกอักเสบอีกด้วย
 คะน้ามีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน ลดอาการหวัด คะน้ามีสารเบต้า-แคโรทีนสูง ช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งในระบบทางเดินอาหารและมะเร็งในระบบปัสสาวะ
 คัดเค้านิยมใช้เป็นยาขับประจำเดือนที่ได้ผลดี
 คำแสดมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยลดไข้ รักษาโรคโลหิตจางและโรคไต ช่วยขับปัสสาวะและฆ่าพยาธิ ใช้รักษาโรคมาเลเลียและโรคหนองใน รวมถึงให้สีแสดสำหรับผสมอาหารอีกด้วย
 คำฝอยบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกายช่วยฟอกเลือด และช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
 คูน/ราชพฤกษ์ช่วยรักษาโรคคุดทะราด โรครำมะนาด โรคบิด บำรุงโลหิต ขับพยาธิ และช่วยรักษาแผลเรื้อรัง และเป็นยาระบาย
สมุนไพร หมวด ง. 
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 งาขาวช่วยบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่นและมีกำลัง กระชุมกระชวย และช่วยรักษาหูด
 งาดำมีแคลเซี่ยมสูง ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง
สมุนไพรไทย หมวด จ. 
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 เจตมูลเพลิงแดงนิยมใช้เป็นยาขับประจำเดือน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยบำรุงกำลังและทำให้เจริญอาหาร
 เจตมูลเพลิงขาวใช้เป็นยาขับประจำเดือน ช่วยแก้ฟกช้ำ รักษาฝี รักษาไข้มาเลเรีย นิยมใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อนและผื่นคัน ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาอาการปวดข้อ และช่วยขับลมลำไส้
 จันทน์เทศเป็นสมุนไพรไทยสำหรับลดไข้ บำรุงตับและปอด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร
 จันทน์ลูกหอมช่วยบำรุงประสาทและผิวหนังให้ชุ่มชื่น ช่วยรักษาดีพิการและขับพยาธิ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
 จำปามีสรรพคุณช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย บำรุงโลหิตและหัวใจ 
เป็นยาระบายช่วยในการขับถ่าย
 จำปีช่วนบำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ช่วยรักษาอาการต่อมลูกหมายและหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยขับระดูให้เป็นปกติ
 จำปูนเป็นพืชในกลุ่มกระดังงา มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด นิยมนำมาทำเครื่องสำอางค์และประดับตกแต่งพวงมาลัยชนิดต่างๆ
 จิกมีประโยชน์เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้อาการท้องเสีย แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยรักษาอาการหวัด และแก้พิษแมลงกัดต่อย
 จิงจูฉ่ายมีประโยชน์เป็นยาช่วยรักษาโรคมะเร็ง มีธาตุเหล็กสูง ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย อีกทั้งยังมีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซีสูง วิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินบี 6 ในปริมาณสูงอีกด้วย
สมุนไพร หมวด ฉ. – สมุนไพรไทย หมวด ช. (กดที่ชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดเพื่อดูรายละเอียด)
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 ชะเอมเทศช่วยขับเสมหะ ลดอาการไอ ลดไข้ ช่วยรักษาอาการคัน บำรุงดี ช่วยสมานแผลในกระเพาะและลำไส้ รักษาอาการหอบหืด และช่วยแก้ไขอาการวัณโรค
 ชะเอมไทยใช้รักษาอาการไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้โรคในคอ และแก้ร้อนในกระหายน้ำ
 ชะพลูใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคเบาหวาน ละลายเสมหะ แก้ไขอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยรักษาอาการโรคหืดหอบและโรคบิด
 ชะอมช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการจักเสียดแน่น ช่วยบำรุงสายตาย ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านมะเร็ง
 ชิงชันมีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือดในสตรี ช่วยสมานแผล และช่วยรักษาแผลเรื้อรัง
 ชุมเห็ดเทศสมุนไพรไทยโบราณ ช่วยรักษากลากเกลื้อน ฝีหนอง ช่วยขับพยาธิ เป็นยาระบาย ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย
 ชุมเห็ดไทยมีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับ ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำและบวม แก้ไอ ละลายเสมหะ แก้หืดหอบและคุดทะราด
สมุนไพร 
หมวด ด. (กดที่ชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดเพื่อดูรายละเอียด)
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 โด่ไม่รู้ล้มช่วยบำรุงกำลัง มีสรรพคุณรักษาไข้จับสั่นหรือไข้มาเลเรีย แก้ดีซ่าน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการเหน็บชา
 ดอกแก้วช่วยขับพยาธิตัวตืด แก้โรคบิด ท้องเสีย แก้ไขข้ออักเสบ และเป็นยาขับประจำเดือน
 ดองดึงมีสรรพคุณช่วยแก้พิษงู ขับพยาธิ แก้โรคหนองใน ช่วยรักษาโรคผิวหนัง และเป็นยารักษาโรคเรื้อน
 ดาวเรืองดอกไม้และสมุนไพรไทยสำหรับรักษาอาการปวดฟัน ไอกรน หลอดลมอักเสบ คามทูม ช่วยรักษาให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วยขับร้อน ละลายเสมหะ แก้เวียนศีรษะได้ดี คนโบราณนิยมใช้แก้ฝีฝักบัวและฝีพุพอง
 ดีปลีช่วยแก้อาการท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้พิษงู แก้ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด ขับลมและบำรุงธาตุ
สมุนไพรไทย หมวด ต. (กดที่ชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดเพื่อดูรายละเอียด)
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 เต่าร้างมีสรรพคุณดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน บำรุงหัวใจ
 เตยหอมนิยมใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัยเส้น ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น รวมถึงใช้แต่งกลิ่นและสีของขนมไทย
 แตงกวามีสรรพคุณช่วยรักษาโรคข้ออักเสบจากกรดยูริก ช่วยบำรุงผิวหนังและฟื้นฟูผิวหนังจากแสงแดด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิต และช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย
 แตงร้านช่วยลดไข้ กำจัดเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ มีแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย เนื่องจากมีใยอาหารสูง
 ตองแตงสมุนไพรโบราณ ช่วยในการขับถ่าย (แรงมาก) ช่วยถ่ายพยาธิ ช่วยรักษาโรคลมพิษและโรคดีซ่านได้ดี
 ตะไคร้มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะและโรคทางเดินปัสสาวะ แก้โรคนิ่ว แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ ช่วยรักษาอาการหอบหืดและอาการจุกเสียดแน่นท้อง
 ตะไคร้หอมมีประโยชน์ช่วยไล่ยุงและแมลง แก้ลมในลำไส้ช่วยไม่ให้แน่นท้องและจุกเสียด และช่วยแก้ริดสีดวงในช่องปาก
 ตะลิงปิงเป็นยารักษาโรคคางทูม แก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน และช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
 ตาเสือช่วยขับประยำเดือนและรักษาอาการท้องเสีย ช่วยลดอาการบวมและปวดตามข้อ
สมุนไพร หมวด ถ. (กดที่ชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดเพื่อดูรายละเอียด)
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 เถาเอ็นอ่อนสมุนไพรไทยรักษาโรคเกี่ยวกับเส้นเอ็น ทั้งเส้นเอ็นตึงและหย่อน ช่วยคลายอาการปวดเมื่อย

ตามร่างกาย ใช้เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นได้เป็นอย่างดี
 ถั่วเขียวช่วยควบคุมไขมันและระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการเบาหวาน เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่มีประโยชน์ ช่วยรักษาโรคเหน็บชาได้ดี มีใยอาหารสูง ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย
 ถั่วเหลืองมีสรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม เป็นแหล่งโปรตีนชั้นสูง ช่วยรักษาโรคหัวใจ มีใยอาหารสูงช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายได้ดี
 ถั่วแปบช่วยลดอาการไข้และอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการแพ้และอ่อนเพลีย มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีและช่วยบำรุงสายตา
 ถั่วดำอุดมไปด้วยสารช่วยล้างพิษในร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้และมะเร็งกระเพราะอาหาร มีเส้นใยมาก ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย ช่วยลดคลอเลสเตอรอลและช่วยควบคุมความดันโลหิต
 ถั่วฝักยาวมีแคลเซียมสูง ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยรักษาอาการไข้ ลดเลือดออกตามไรฟัน ลดการเกิดโรคหัวใจ ช่วยขับปัสสาวะ มีเส้นใยสูง ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
 ถั่วพูมีใยอาหารมาก ช่วยรักษาอาการท้องผูก มีวิตามินซีสูงช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน ช่วยรักษาอาการหวัด ช่วยในการย่อยโปรตีน ให้พลังงานต่อร่างกายสูง และช่วยรักษาอาการของโรคผิวหนัง
 ถั่วลิสงมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันมะเร็ง และช่วยปกป้องหลอดเลือดไม่ให้ขยายหรือหดตัวมากเกินไป ช่วยควบคุมไขมันในเลือด ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและช่วยขับน้ำนม
 ถั่วลันเตามีวิตามีนบี 2 และโปรตีนสูง ไขมันต่ำ ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ควบคุมความดัน ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดเบาหวานและการเกิดตระคิว ช่วยบำรุงสายตา กระดูกและฟันให้แข็งแรง
สมุนไพรไทย หมวด ท.
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 เทพธาโรประโยชน์ของสมุนไพรไทยนี้ เป็นยาหอมแก้ลม จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร

 เทียนกิ่งใช้เป็นยาขับประจำเดือน รักษาโรคดีซ่าน ช่วยขับปัสสาวะ และรักษาโรคลมบ้าหมู แก้อาการปวดตามนิ้วมือนิ้วเท้าและรักษาเล็บขบ ช่วยรักษากามโรค และแก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง
 เทียนบ้านช่วยรักษาเล็บขบและน้ำกัดเท้า แก้แผลอักเสบ เป็นฝีหนอง แผลเน่าเปื่อยและแผลเรื้อรังได้ผลดีมาก
 โทงเทงสมุนไพรไทยสำหรับรักษาโรคเบาหวาน ช่วยแก้โรคดีซ่าน อาการไอเรื้อรัง รักษาแผลมีหนอง และช่วยขับพยาธิ
 ทองกวาวช่วยแก้พิษไข้ สมาแผล ช่วยรักษาสิว และมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้เจ็บตาและตาฝ้าฟาง
 ทองพันชั่งนิยมใช้รักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน ช่วยรักษาอาการผื่นคันเรื้อรัง รักษามะเร็งและเนื้องอก ช่วยแก้แก้พิษงู ช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยรักษาโรครูมาติซึมและโรคไขข้อพิการ
 ทับทิมมีประโยชน์ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการหูอื้อ หน้ามืดตาลาย และรักษาอาการของโรคบิด
 ทานตะวันใช้เป็นสมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการนิ่วในไต แก้หลอดลมอักเสบ ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ และเป็นยาระบายอ่อนๆอีกด้วย
 ท้าวยายม่อมใช้เป็นยาขับพิษไข้ทุกชนิด เป็นยาแก้แพ้  อักเสบ ปวดบวม แมลงสัตว์กัดต่อย และแก้ร้อนในกระหายน้ำ
สมุนไพร หมวด น.
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 นางแย้มผลไม้และสมุนไพรคุณภาพสูงสำหรับรักษาเหา หิด และอาการโรคจี๊ด นิยมใช้กันมาตั้งสมัยโบราณ
 น้อยหน่ามีสรรพคุณช่วยรักษาเหา แก้โรคหิดและโรคจี๊ด
 น้ำนมราชสีห์ช่วยรักษาหูดและตาปลา ช่วยรักษาโรคผิวหนังและเชื้อราบนหนังศีรษะ ช่วยรักษาฝีชนิดต่างๆ รักษาแผลในลำไส้และช่วยขับน้ำนม
สมุนไพรไทย หมวด บ.
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 ใบเตยช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยรักษาโรคเบาหวานและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจ มีสารต้านมะเร็งสูง ช่วยขับปัสสาวะ และช่วยรักษาโรคผิวหนังได้ดี
 ใบบัวบกสมุนไพรพื้นบ้าน มีสรรพคุณในการลดความดันโลหิต แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจและช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด แก้อาการน้ำร้อนลวก และช่วยแก้อาการช้ำใน
 ใบระบาดมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคผิวหนังและอาการผื่นคันตามผื่นคัน เป็นยาทาภายนอก
 ใบหม่อนช่วยผ่อนคลายและบำรุงสายตา ช่วยลดคลอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต และช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี
 บวบช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ เคลือบกระเพาะและลำไส้ป้องกันการอักเสบ มีใยอาหารสูง

ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆและช่วยขับน้ำนม
 บวบขมมีสรรพคุณช่วยรักษาเหา ลดอาการคันศีรษะอันเนื่องมาจากรังแค
 บวบหวาน/บวบงูใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยฆ่าพยาธิ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย ช่วยลดอาการเบาหวาน ช่วยกำจัดรังแคและอาการคันบนหนังศีรษะ
 บอระเพ็ดใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ รักษาโรคผิวหนังและผดผื่นคันตามร่างกาย
 บัวหลวงมีประโยชน์ช่วยขับเสมหะ บำรุงหัวใจ แก้ร้อนในกระหายน้ำ นิยมใช้เป็นยาขยายหลอดเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
 บานเย็นใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้และระบายความร้อน เป็นยาระบาย และช่วยรักษาอาการคันและฝี
 บานไม่รู้โรยช่วยขับปัสสาวะ แก้พิษต่างๆ แก้ไอระงับหอบหืด ขับปัสสาวะ และรักษาอาการปวดศีรษะ
 บุกช่วยลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง ช่วยรักษาอาการแผลเรื้อรัง เป็นหนองได้ผลดี
 บุนนาคนิยมใช้รักษาแผลสด แก้พิษงู บำรุงโลหิต แก้ร้อนกระสับกระส่าย ขับเหงื่อ ขับลมในลำไส้ และแก้เสมหะในคอ
สมุนไพร หมวด ป.
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 เปราะหอมแดงแก้ท้องขึ้นเฟ้อ ขับลม รักษาโรคเกี่ยวกับตาและเกลื้อนช้าง แก้ลมพิษ ช่วยรักษาผื่นคัน ลดอาการไอ และช่วยรักษาบาดแผล
 เปราะหอมขาวใช้เป็นยาขับประจำเดือน ช่วยแก้อาการเป็นหวัดคัดจมูก และช่วยขับลมในลำไส้
 เปล้าน้อยสมุนไพรไทยโบราณสำหรับรักษาโรคผิวหนังสารพัดชนิด ทั้งหิด กลาก เกลื้อน และอาการคันจากเชื้อราอื่นๆ
 ประคำดีควายใช้เป็นยาลดไข้ แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น ปอดบวม แก้พิษโรคหัดและอีสุกอีใส ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
 ประทัดใหญ่ (ประทัดจีน)ใช้เป็นยาแก้ไข้มาเลเรีย รักษาอาการหวัด เป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย ช่วยรักษาอาการคันตามผิวหนัง และช่วยเจริญอาหาร
 ประยงค์ใช้แก้อาการเมาค้าง วิงเวียนศีรษะ แก้แผลบวมฟกช้ำและการอักเสบเป็นหนอง
 ปลาไหลเผือกนิยมใช้รักษไข้ แก้อาการชัก รักษาฝีในท้องและถ่ายพิษต่างๆ
 ปีกแมลงสาบใช้แก้อาเจียนเป็นโลหิต รักษาโรคหนองใน แก้อาการตกขาว รักษาโรคบิดและโรคฝีอักเสบ
 ปีบใช้รักษาอาการหอบหืดและไซนัสอักเสบ ช่วยขยายหลอดลม บำรุงปอดและรักษาอาการวัณโรค
สมุนไพรไทย หมวด ผ.
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 ผกากองใช้ขับลม รักษาอาการคันจากความอับชื้น ช่วยรักษาวัณโรค มีสรรพคุณห้ามเลือดและลดการอาเจียน ช่วยแก้ไข ปวดฟันและคางทูม

 ผักโขมมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดคลอเลสเตอรอลในเลือด ล้างพิษในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซล ช่วยบำรุงสายตาและลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
 ผักกระเฉดมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย มีแคลเซียมสูง ช่วยลดอาการกระดูกพรุน ช่วยให้ฟันแข็งแรง และช่วยลดภาวะเลือดจาง
 ผักกรูดช่วยบำรุงสายตา บำรุงเลือด ลดอาการเลือดจาง มีสารต้านมะเร็งสูง ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต และช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด
 ผักกาดขาวนิยมใช้รักษาอาการหวัด แก้ท้องผูก ช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น มีสรรพคุณช่วยรักษาผิวหนังอักเสบเนื่องจากการแพ้
 ผักคราดหัวแหวนแก้ปวดฟันและปวดศรีษะ โดยมีฤทธิ์เป็นยาชา แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้อาการไอและหอบหืด ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยขับปัสสาวะและเป็นยาระบายอ่อนๆ
 ผักคาวทองเป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ ลดไข้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย ท้องเสีย มีสรรพคุณในการรักษาปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ลดอาการไอ รักษาโรคบิด โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หูชั้นกลางอักเสบ และโรคริดสีดวงทวาร
 ผักชีสมุนไพรสารพัดประโยชน์ มีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดฟัน แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น
 ผักบุ้งไทยมีวิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต่อต้านมะเร็ง มีแคลเซียมและวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน และช่วยรักษาอาการไข้หวัด
 ผักบุ้งจีนช่วยขับพิษในร่างกาย บำรุงสายตา ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยต้านมะเร็ง รักษาหวัด ช่วยให้เจริญอาหาร มีกากใยมาก ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี
 ผักบุ้งทะเลช่วยรักษาพิษแมงกระพรุนไฟและอาการคันตามผิวหนังอื่นๆ แก้โรคเท้าช้าง ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดไขข้อบวมอักเสบมีหนองและช่วยป้องกันตะคริว
 ผักหวานป่ามีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยลดพิษไข้ ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน อุดมไปด้วยสารต้านมะเร็ง ช่วยเพิ่มน้ำนมหลังการคลอดบุตร
สมุนไพร หมวด ฝ.
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ


 ฝรั่งแก้ท้องเสียและท้องร่วงท้องเดิน นิยมใช้เป็นยาห้ามเลือด ระงับกลิ่นปาก และเป็นยาระบายอ่อนๆ
 ฝางใช้เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี ช่วยขับประจำเดือน แก้ท้องร่วงท้องเดิน ใช้เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า และให้สีชมพูเข้มสำหรับผสมอาหารและย้อมผ้า
 ฝ้ายแดงช่วยขับปัสสาวะและขับน้ำคาวปลา รวมถึงแก้ไข้ และช่วยขับเหงื่อ
 ฝ้ายตุ่นสมุนไพรโบราณอีกชนิดหนึ่ง นิยมใช้เพื่อขับประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แต่ห้ามใช้กับหญิงที่ตั้งครรภ์
สมุนไพรไทย หมวด พ.
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 เพกานิยมใช้แก้ท้องร่วง เป็นยาสมานแผล ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ และแก้อาการจุดเสียดแน่นท้อง
 เพชรสังฆาตใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก โรคลำไส้และอาหารไม่ย่อย ใช้หยอดหูแก้หูเป็นน้ำหนวก และช่วยให้เจริญอาหาร
 แพงพวยฝรั่งหนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยรักษามะเร็งในเม็ดเลือด แก้อาการโรคบิด ช่วยขับพยาธิ ใช้ห้ามเลือด แก้เบาหวาน ช่วยลดความดัน ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการตัวเหลืองอันเกิดจากพิษสุรา
 ไพลใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคหืดหอบ ลดไข้ แก้อาการปวดเมื่อยและครั่นเนื้อครั่นตัว ช่วยรักษาข้อเคล็ดหรือข้อเท้าแพลง
 พยอมมีประโยชน์ช่วยบำรุงหัวใจ นิยมใช้ผสมยาแก้ไข้และยาหอม ทำให้มีกลิ่นหอมชื่นใจ แก้อาการเป็นลมได้ดี
 พระจันทร์ครึ่งซีกช่วยรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด แก้อาการโรคบิดและท้องเสีย มีสรรพคุณรักษาโรคดีซ่านและอาการตาแดง
 พริกไทยประโยชน์ของสมุนไพรพริกไทย ช่วยแก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ ขับเหงื่อและปัสสาวะ ช่วยลดอาการอาหารไม่ย่อย
 พริกขี้หนูช่วยขับเสมหะ ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยให้เจริญอาหาร
 พริกชี้ฟ้ามีสรรพคุณช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้น ช่วยย่อยอาหารและขับลม แก้หวัด และมีสารต้านการเกิดโรคมะเร็ง
 พริกหยวกช่วยย่อยอาหาร ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านมะเร็ง ทำให้เจริญอาหาร และช่วยขับลม
 พริกหวานช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ลดอาการหวัด ช่วยขับลม บำรุงสายตา กระดูกและฟัน ช่วยลดการเกิดมะเร็ง
 พวงชมพูดอกขาวมีสรรพคุณเป็นยากล่อมประสาทชนิดหนึ่ง ทำให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้โรคนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี
 พิกุลเป็นยาแก้โรคท้องผูก ช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต และขับลม นิยมนำมาเป็นยารักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน
 พิมเสนมีน้ำมันหอมระเหยสูง ลดอาการวิงเวียนศีรษะ ใช้รักษาอาการปวด เช่น ปวดประจำเดือน ช่วยขับปัสสาวะและขับลมได้ดี
 พิมเสนต้นนิยมใช้ถอนพิษร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง โดยมากมักปรุงเป็นยาเขียวเพื่อถอนพิษไข้
 พิลังกาสาเป็นสมุนไพรรักษากามโรคและหนองใน ช่วยฆ่าพยาธิ แก้ลมพิษ และช่วยรักษาอาการท้องเสีย
 พุดตาน
เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลอก แผลอักเสบมีหนอง ช่วยรักษาโรคคางทูมและงูสวัด
สมุนไพร หมวด ฟ.
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 ฟักเขียวช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยแก้ฟกช้ำและรักษาบาดแผล แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงไตและแก้อาการท้องเสีย
 ฟักทองมีสารเบต้า-แคโรทีนสูงมาก ช่วยต่อต้านมะเร็ง บำรุงสายตา ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ช่วยรักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ ลดการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
 ฟ้าทะลายโจรสมุนไพรไทยยอดนิยมสำหรับรักษาอาการหวัด ลดพิษไข้ ลดอาการเจ็บคอ ปัจจุบันมีแบบแคปซูนขาย รับประทานง่าย
สมุนไพรไทย หมวด ม.
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 แมงลักเป็นยาระบายอ่อน รักษาอาการท้องผูก อึดอัดในช่องท้อง ช่วยให้ลำไส้บีบตัวดีขึ้น ช่วยขับลมในลำไส้
 โมกมันช่วยรักษาโรคคุดทะราด แก้โรครำมะนาด และเป็นยาระบาย ช่วยขับเหงื่อและขับลม
 โมกหลวงใช้แก้โรคบิด แก้พิษไข้ ช่วยฟอกเลือด และช่วยรักษาโรคผิวหนังจำพวกโรคกลากเกลื้อน
 ไมยราบมีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ รักษาอาการหลอดลมและกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดคลอเลสเตอรอลและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
 มหาหงส์ช่วยฆ่าแมลงและไล่ยุง ช่วยแก้กระษัย บำรุงไต และช่วยให้เจริญอาหาร
 มะเกลือสุดยอดสมุนไพรสำหรับการการถ่ายพยาธิ กำจัดได้ทั้งพยาธิตัวตืด ตัวกลม พยาธิปากขอ และพยาธิเข็มหมุด
 มะเขือเทศมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดอาการหวัด ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร

 มะเขือเปราะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาอาการเบาหวาน บำรุงหัวใจ ช่วยการทำงานของตับและตับอ่อนให้ดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต ขับพยาธิ และช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร
 มะเขือพวงมีสรรพคุณช่วยลดอาการไอ ช่วยขับเสมหะ เป็นยาขับปัสสาวะอย่างดี ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาการ และช่วยรักษาโรคตาปลา
 มะเขือมอญนิยมใช้เป็นยาแก้จี๊ด และรักษาโรคกระเพาะอาหาร
 มะเขือยาวช่วยบำรุงหัวใจ มีสารต้านมะเร้งสูง ช่วยถอนพิษ สามารถควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
 มะเดื่อไทยใช้รับประทานแก้ท้องร่วง เป็นยาสมานแผล นิยมใช้เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด
 มะเฟืองนิยมใช้ขับพยาธิ แก้เลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้ขับถ่ายดี คนโบราณใช้เป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ ถอนพิษไข้
 มะม่วงหาวมะนาวโห่สมุนไพรไทยชื่อแปลกที่ช่วยต้านมะเร็ง มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเกาต์ เลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ และรักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาต
 มะม่วงหิมพานต์ใช้เป็นยารักษาหูดและตาปลา รักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน และช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน
 มะแว้งเครือใช้รักษาอาการไอ ขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน บำรุงดี แก้น้ำลายเหนียว บำรุงเลือด แก้อาการโลหิตออกทางทวารหนัก
 มะแว้งต้นมีสรรพคุณแก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต รักษาอาการโลหิตออกทางทวารหนัก แก้วัณโรค ขับปัสสาวะ รักษาโรคไตและกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
 มะกรูดเป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้องจุกเสียด กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
 มะกล่ำต้นมีประโยชน์ช่วยรักษาริดสีดวงทวารหนัก ช่วยฆ่าพยาธิ ลดเสมหะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดการอาเจียน และช่วยรักษาอาการหืดหอบ ไอ
 มะกอกช่วยทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน มีประโยชน์แก้โรคบิด แก้ร้อนใน แก้ลงท้องปวดมวนและรักษาอาการสะอึก รวมถึงใช้หยอดหู แก้ปวดหูดี
 มะกอกน้ำมีสรรพคุณช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ แก้พิษโลหิตและเลือดกำเดาไหล ช่วยแก้ริดสีดวงในลำคอได้ดี
 มะขามสมุนไพรไทยพื้นบ้านยอดนิยม ช่วยลดอาการไข้ แก้ท้องร่วง ท้องผูก และช่วยแก้ไขอาการความดันโลหิตสูง
 มะขามแขกเป็นยาถ่ายอย่างดี ช่วยขับลมและรักษาอาการท้องผูก
 มะขามป้อมใช้รักษาอาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอและขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ มีไวตามินซีสูงช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
 มะดันนิยมใช้แก้กระษัย แก้ระดูเสีย ช่วยฟอกโลหิต ขับเสมหะ และเป็นยาระบายอ่อนๆ
 มะตูมมีสรรพคุณแก้ท้องเดิน ท้องเสียและท้องร่วง ช่วยรักษาโรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก ช่วยขับลม แก้หืดหอบ และอาการท้องผูก
 มะนาวช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน ขับเสมหะและฟอกโลหิต ฆ่าพยาธิ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
 มะปรางใช้แก้ไข้กลับ  ถอนพิษสำแดง และลดอาการปวดศีรษะ
 มะพร้าวเป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน แก้ปวดเอ็นและกระดูก ช่วยบำรุงกำลัง ขับพยาธิ รักษาอาการปวดฟัน ช่วยขับปัสสาวะและแก้ท้องเสีย
 มะยมมีประโยชน์ช่วยรักษาอาการคันจากโรคผิวหนัง ดำแดง อีสุกอีใส ช่วยลดไข้และช่วยกำจัดน้ำเหลือง
 มะระขี้นกมีสรรพคุณรักษาโรคหิด แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนองและฝีอักเสบ เป็นยาบำรุงธาติและบำรุงกำลัง ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้โรคบิด ช่วยขับ
พยาธิ และช่วยรักษาอาการปวดฟัน
 มะระจีนช่วยควบคุมระดับน้ำตายในเลือด ลดอาการของโรคเบาหวาน ช่วยแก้อาการของโรคริดสีดวงทวารหนัก มีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนัง รักษาบิด และช่วยขับพยาธิ
 มะรุมนิยมใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ ช่วยแก้พิษ รักษาฝี แก้ปวดและลดอาการแผลอักเสบ
 มะละกอสุดยอดผลไม้สารพัดประโยชน์และเปี่ยมสรรพคุณ มีวิตามินสูง ช่วยย่อยอาหารและฆ่าพยาธิ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยป้องกันอาการเลือดออกตามไรฟัน
 มะลิช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดอาการปวดศีรษะและโรคซึมเศร้า มีสรรพคุณเบาเทาโรคตาแดง แก้ปวดกระดูกและปวดฟัน
 มะลิลามีสรรพคุณช่วยรักษาแผลและฝีพุพอง แก้โรคหืด บำรุงหัวใจ รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน และนิยมนำมาทำยาหยอดตา
 มะหาดช่วยขับพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือน ช่วยรักษาอาการคันตามผิวหนัง แก้ไข้และกระษัยเส้นเอ็น ช่วยลดอาการปัสสาวะกระปริบกระปรอย
 มะอึกช่วยละลายเสมหะ แก้ไอ แก้ปวดฟันและลดไข้ นิยมนำใบมาทำเป็นยาพอกรักษาอาการคัน
 มังคุดมีสรรพคุณรักษาโรคท้องเสียเรื้อรังและโรคลำไส้ แก้ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นยารักษาน้ำกัดเท้าและรักษาบาดแผล
สมุนไพร หมวด ย.
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 ยอบ้านมีวิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตาและหัวใจ อีกทั้งนิยมใช้เป็นยาระบายและแก้กระษัย ผลสุกช่วยบำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับลมในลำไส้
 ย่านางนิยมใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด โดยเฉพาะไข้หวัด
 ยูคาลิปตัสมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ บรรเทาอาการข้ออักเสบ และช่วยไล่แมลง
และยุง
สมุนไพรไทย หมวด ร.
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 ระย่อมน้อยเป็นสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคตาแดง ทำให้ตาหายขุ่นมัว แก้โรคหิด และลดความดันโลหิต
 รางจืดช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยถอนพิษยาฆ่าแมลง เป็นยาถอนพิษไข้ และนิยมใช้เป็นยาพอกรักษาบาดแผลน้ำร้อนลวกและไฟไหม้
 เร่วใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ช่วยขับลม แลดอาการไอและไข้เซื่องซึม ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
สมุนไพร หมวด ล.
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 เล็บมือนางมีสรรพคุณเป็นถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย แก้อาการไอ ปวดศีรษะ รวมถึงช่วยรักษาแผลและฝีหนอง
 เลี่ยนช่วยรักษาโรคเรื้อนและโรคผิวหนังอื่นๆ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะและช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดอาการม้ามโตและปวดตามข้อ ช่วยกำจัดเหา
 ละหุ่งนิยมใช้เป็นยาขับน้ำนม แก้พิษไข้เซื่องซึม ช่วยสมานแผล และสามารถใช้เป็นยาระบายสำหรับเด็กได้
 ลำโพงดอกขาวใช้เป็นยารักษาโรคหืดและช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้โรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน รักษาอาการปวดฟัน ช่วยรักษาอาการไขข้ออักเสบ
 ลูกใต้ใบสมุนไพรโบราณชนิดหนึ่ง นิยมใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อนของร่างกาย มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะอีกด้วย
สมุนไพรไทย หมวด ว.
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 ว่านกาบหอยช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ รักษาอาการช้ำในและอาเจียนเป็นเลือด รวมถึงอุจจาระและปัสสาวะเป็นเลือด เลือดกำเดาออก และช่วยห้ามเลือด
 ว่านชักมดลูกช่วยขับประจำเดือนและน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว บรรเทาอาการมดลูกพิการ ช่วยแก้โรคริดสีดวงทวารและไส้เลื่อน รักษาอาการอาหารไม่ย่อย แน่น จุกเสียด
 ว่านธรณีสารนิยมกวาดคอเด็ก แก้เด็กตัวร้อน แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี และขับลมในลำไส้
 ว่านนางคำใช้เป็นยาขับลมในลำไส้และแก้ปวดท้อง ช่วยรักษาอาการผื่นคัน และฟกช้ำขัดยอก ช่วยขับเสมหะและรักษาโรคหนองใน
 ว่านน้ำมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ แก้อาการปวดท้อง ท้องเฟ้อ ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะสูง ช่วยให้เจริญอาหาร นิยมนำมาใช้เป็นยาหอม
 ว่านมหากาฬเป็นสมุนไพรช่วยรักษาและดับพิษไข้ ช่วยถอนพิษและขับระดู ช่วยรักษาฝี เริมและงูสวัดได้ผลดี
 ว่านสากเหล็กใช้เป็นยาขับประจำเดือน รักษาอาการมดลูกลอยและลดอาการอักเสบของมดลูก
 ว่านหางจระเข้ช่วยขับน้ำคาวปลา ใช้พอกรักษาฝี โรคหนองใน มีสรรพคุณรักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก และไฟไหม้ เป็นยาทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็นได้ดี
 ว่านหางช้างมีประโยชน์ช่วยในการระบาย ลดอาการท้องผูก จุกเสียดแน่น รักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ และแก้อาการเจ็บคอ
สมุนไพร หมวด ส.
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 เสม็ดแดงนิยมใช้พอกแก้อาการเคล็ดขัดยอก และฟกช้ำบวม สำหรับเด็กช่วยแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้องได้ผลดี
 เสลดพังพอนตัวเมียใช้ถอนพิษ ทั้งแลงสัตว์กัดต่อย ลมพิษ และงูสวัด มีสรรพคุณรักษาแผลน้ำร้อนลวก และแก้ร้อนใน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะและขับประจำเดือน
 เสลดพังพอนตัวผู้ช่วยถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อยรวมถึงพิษงู แก้อาการตัวเหลือง แก้โรคงูสวัด รักษาโรคเริมและอาการคันตามผิวหนัง รักษาอาการปวดฟัน เหงือกบวม แก้ริดสีดวงทวาร แก้ยุงกัด แก้พิษไฟลวกน้ำร้อนลวก

 เสาวรสเป็นสมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดที่มีประสิทธิภาพสูง
 แสลงใจเป็นยาบำรุงหัวใจและระบบประสาทที่มีฤทธิ์ค่อนข้างแรง แก้กระษัย และช่วยเจริญอาหาร
 สบู่เลือดช่วยรักษาโรคเรื้อน ขับประจำเดือนและพยาธิ ช่วยขับลม มีสรรพคุณรักษาแผลสดและแผลเรื้อรัง
 สบู่แดงมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ลดอาการปวดท้อง ช่วยรักษาโรคผิวหนังและโรคเรื้อน ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง
 สบู่ดำช่วยรักษาโรคผิวหนังและโรคปากนกกระจอก ช่วยห้ามเลือดและแก้อาการปวดฟัน ออกฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย
 ส้มเขียวหวานช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการหวัด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย มีส่วนให้ระบบย่ยอาหารทำงานได้ดี
 ส้มเช้ามีสรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยกำจัดพยาธิ รักษาโรคไข้จับสั่นเรื้อรัง ช่วยรักษาอาการปวดและถอนพิษได้ดี
 ส้มเสี้ยวช่วยขับประจำเดือนและขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการไอ มีสรรพคุณช่วย
ฟอกเลือดและรักษาแผลพุพองเรื้อรัง
 ส้มโอช่วยบำรุงสายตา ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง มีสรรพคุณช่วยลดไข้ ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้ดี
 ส้มป่อยสมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยรักษาโรคผิวหนังและมาเลเรีย มีสรรพคุณรักษาโรคบิด และช่วยทำให้อาเจียน
 สมอไทยนิยมใช้เป็นยาสมานแผล แก้ท้องเดิน มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ขับลมในลำไส้ และช่วยลดไข้
 สมอพิเภกมีประโยชน์ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก แก้โรคบิด ท้องร่วง ท้องเดิน และช่วยขับปัสสาวะ
 สลอดมีสรรพคุณรักษาโรคเรื้อน ช่วยละลายเสมหะและขับลม มีสรรพคุณในการรักษากามโรคและโรคกลากเกลื้อน
 สะเดาเป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคริดสีดวง ขับเสมหะ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้โรคผิวหนัง และเป็นยาฆ่าแมลง
 สะเดาอินเดียนิยมใช้เป็นยาแก้ไข้มาเลเรียหรือไข้จับสั่น ช่วยักษาไข้ประจำฤดูได้ผลดี
 สะระแหน่ช่วยขับลมในกระเพาะ ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ป้องกันไข้หวัดและช่วยบำรุงสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
 สักช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับลม บำรุงโลหิต ขับพยาธิ และช่วยรักษาโรคผิวหนัง
 สับปะรดสมุนไพรไทยและผลไม้ยอดนิยม ช่วยแก้กระษัย ขับปัสสาวะ และช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองในและกระษัย ลดอาการโรคนิ่ว
 สาเกให้โปรตีนสูง ช่วยซ่อมแซมร้างกาย ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านมะเร็ง และช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
 สามสิบมีสรรพคุณช่วยบำรุงเด็กในครรภ์ ช่วยให้ตับและไตทำงานเป็นปกติ และช่วยขับปัสสาวะ
 สายน้ำผึ้งนิยมใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องร่วง ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยบรรเทาอาการลำไส้และตับอักเสบ ลดอาการปวดเมื่อยตามข้อ
 สารภีนิยมใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดหมุนเวียนดี อีกทั้งนิยมนำมาย้อมผ้าไหม ให้สีแดงสวยงาม
 สีเสียดเหนือช่วยรักษาแผลจากน้ำกัดเท้า รักษาโรคหิดและแผลเรื้อรัง ช่วยรักษาโรคบิด ท้องร่วงและท้องเดิน ได้ผลดีมาก
สมุนไพรไทย หมวด ห.
รายชื่อสมุนไพรประโยชน์และสรรพคุณ
 เหงือกปลาหมอมีสรรพคุณแก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย ช่วยรักษาฝี ช่วยลดอาการไขข้ออักเสบ ช่วยรักษาอาการไอและโรคหืดหอบ
 เห็ดเข็มทองช่วยรักษาอาการกระเพาะและลำไส้อักเสบ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง บำรุงตับ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีใยอาหารสูงช่วยการทำงานของระบบขับถ่ายให้ดีขึ้น
 เห็ดโคนมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็ง ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย ให้โปรตีนและกากใยอาหารสูง ช่วยย่อยอาหารและบำรุงกำลัง มีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
 เห็ดหลินจือเป็นยาอายุวัฒนะขนานเอก ช่วยรักษาโรคในระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง ลดอาการไขข้ออักเสบ และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย
 เห็ดนางฟ้าอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดความดันโลหิตและช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้น ช่วยการทำงานของระบบประสาทและระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น
 เห็ดฟางช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น มีเส้นใยสูงช่วยในระบบขับถ่าย ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง ลดการติดเชื้อและช่วยสมาแผล
 เห็ดหอมช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระต้นเหตุของมะเร็ง ช่วยให้หลอดลมและปอดทำงานดีขึ้น ช่วยลดคลอเลสเตอรอล ทำให้ไตทำงานดีขึ้น
 โหระพาช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นและท้องเสีย ช่วยขับลมและทำให้เจริญอาหาร ใช้แก้อาการเป็นแผลแบบมีหนองเรื้อรัง
 หญ้าปักกิ่งนิยมใช้รักษาไข้ ช่วยรักษามะเร็งตับ รักษาโรคหนองใน สามารถใช้เป็นยาพอกเพื่อแก้อักเสบ ช่วยรักษาอาการปวดบวม
 หญ้าหนวดแมวเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยลดอาการนิ่วและช่วยลดขนาดของก้อนนิ่ว รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน
 หนอนตายอยากมีสรรพคุณรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก รักษาอาการวัณโรค รักษาจี๊ด โรคหิดและกำจัดเหา ช่วยรักษาดรคผิวหนังและขับพยาธิ มีสรรพคุณแก้ปวดฟัน
 หนุมานประสานกายช่วยรักษาวัณโรคปอด ลดอาการไอ รักษาอาเจียนเป็นเลือด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะและรักษาอาการภูมิแพ้
 หอมแดงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดคลอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตและโรคหัวใจ ช่วยบำรุงสมอง และมีสรรพคุณช่วยรักษาสิวฝ้าได้ดี

 หอมหัวใหญ่มีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดไขมันในเลือด ช่วยรักษาอาการหวัด แก้อาการจุกเสียดแน่ท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้เบาหวาน ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้และหอบหืด
 หัวไชเท้าช่วยลดอาการปวดศีรษะ รักษาโรคบิด ละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอ ช่วยย่อยอาหาร มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาเบาหวาน และช่วยขับลม
 หางไหลแดงมีสรรพคุณช่วยไล่และฆ่าแมลง ช่วยรักษาเหาและโรคหิด ช่วยขับประจำเดือนและบำรุงโลหิต ช่วยขับลม

 หางไหลขาวใช้เป็นยาขับประจำเดือน ช่วยกำจัดเห็บเหา และช่วยขับลม
 หูเสือโบราณนิยมนำใบสดมาคั้นเอาน้ำมาหยอดหูเพื่อรักษาอาการปวดหู แก้พิษฝีในหู และช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวกได้ดี
สมุนไพร หมวด อ.
รายชื่อสมุนไพรไทยประโยชน์และสรรพคุณ
 แอหนังสมุนไพรสำหรับขับเลือด ขับลม ขับพยาธิ ช่วยเจริญอาหาร อีกทั้งยังสามารถใช้พอกรักษาแผลเรื้อรัง รักษาฝี และอาการฟกช้ำ
 เอ็นอ้านิยมดื่มบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย มีสรรพคุณช่วยบำรุงไตและน้ำดี
 เอื้องเพชรม้าใช้เป็นยารักษาอาการตาอักเสบ พอกแก้ปวดท้อง ช่วยขับเลือด ขับเสมหะ แก้กระษัย และช่วยขับลมให้กระเพาะและลำไส้ได้ดี
 อบเชยมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการจับตัวเป็นก้อนของเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ช่วยขับลมและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
 อบเชยเทศนิยมใช้ขับลม ลดอาการจุกเสียด ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและอ่อนเพลีย และนิยมใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์
 อบเชยต้นใช้เป็นยาแก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่น ช่วยขับลม มีสรรพคุณในการรักษาโรคบิดและโรคหนองใน
 อ้อยแดงมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ แก้ไอ ลดเสมหะ ช่วยบำรุงหัวใจ และยังช่วยขับปัสสาวะได้ดีอีกด้วย
 อัคคีทวารสมุนไพรไทย ช่วยรักษาโรคผิวหนังจำพวกกลากเกลื้อน โรคเรื้อน แก้อาการปวดศีรษะเรื้อรัง ช่วยลดอาการปวดตามข้อ
 อัญชันใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ออกฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ และให้สีน้ำเงินสำหรับผสมอาหาร
 อินทนิลน้ำใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือด มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
หมายเหตุ … ปัจจุบันรายชื่อสมุนไพรของเรายังไม่ครบ 1,500 ชนิด ทางเรากำลังตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดจากฐานข้อมูลที่มีอยู่มากกว่า 1,700 ชนิด และจะทะยอยเพิ่มรายชื่อสมุนไพรที่ผ่านการตรวจสอบแล้วเป็นระยะๆ
สมุนไพรเหล่านี้นอกจากจะหาได้ง่ายในบ้านเราแล้ว ยังพบว่ามีการนำสมุนไพรจำนวนมากมาทำเป็นยาแผนโบราณที่รับประทานและใช้งานได้ง่ายขึ้น แถมยังมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบันหรือยาที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศสมุนไพรหลายชนิดเป็นพืชผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ทุกครัวเรือน … สมุนไพรไทยของเรามีดีไม่แพ้ยาจากต่างประเทศนะครับ 
อ้างอิง--
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/




2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2565 เวลา 11:03

    Can A Betting System Work? - Worrione
    A Betting septcasino System Work? — The bettor's bet, or wager, is based on the amount of money on the result 바카라 of a game. (For example, if the horse wins by only worrione

    ตอบลบ
  2. Jackpot City - Casino - Mapyro
    Welcome to Jackpot City. Our casino 군산 출장마사지 offers 경주 출장안마 over 3000 하남 출장샵 of the hottest slots 평택 출장마사지 games and 70+ table games. Great offers to play on your mobile or 논산 출장마사지 desktop.

    ตอบลบ